ผลแข่งฟุตบอลซีเกมส์ของทีมชาติไทย 1959-2013


- - 1959 ณ ประเทศไทย - -
ไทย 0-4 เวียดนามใต้
ไทย 3-1 มาเลเซีย
ไทย 5-2 พม่า
รอยชิง, ไทย 1-3 เวียดนามใต้

- - 1961 ณ พม่า - -
ไทย 0-0 เวียดนามใต้
ไทย 5-2 ลาว
รอบรอง, ไทย 2-2 มาเลเซีย (แพ้ลูกโทษ)
ชิงเหรียญทองแดง, ไทย 1-1 เวียดนามใต้

- - 1963 ไม่มีการแข่งขัน - -

- - 1965 ณ มาเลเซีย - -
ไทย 2-1 เวียดนามใต้
รอบรอง, ไทย 2-0 เวียดนามใต้
รอบชิง, ไทย 2-2 พม่า

- - 1967 ณ ประเทศไทย - -
ไทย 4-0 มาเลเซีย
ไทย 0-1 พม่า
รอบรอง, ไทย 0-5 เวียดนามใต้
ชิงเหรียญทองแดง, ไทย 5-2 ลาว

- - 1969 ณ พม่า - -
ไทย 1-1 พม่า
รอบรอง, ไทย 3-0 มาเลเซีย
รอบชิง, ไทย 0-3 พม่า

- - 1971 ณ มาเลเซีย - -
ไทย 1-1 กัมพูชา
ไทย 2-4 มาเลเซีย
ไทย 3-0 ลาว
รอบรอง, ไทย 1-3 พม่า
ชิงเหรียญทองแดง, ไทย 0-0 เวียดนามใต้

- - 1973 ณ สิงคโปร์ - -
ไทย 0-1 สิงคโปร์
ไทย 1-1 มาเลเซีย
(ตกรอบแรก)

- - 1977 ณ มาเลเซีย - -
ไทย 2-0 สิงคโปร์
ไทย 0-3 พม่า
รอบชิง, ไทย 0-2 มาเลเซีย

- - 1979 ณ อินโดนีเซีย - -
ไทย 1-0 พม่า
ไทย 3-1 อินโดนีเซีย
ไทย 2-2 สิงคโปร์
ไทย 0-1 มาเลเซีย
เพลย์ออฟ, ไทย 0-0 อินโดนีเซีย (p. 1-3)

- - 1981 ณ ฟิลิปปินส์ - -
ไทย 2-2 มาเลเซีย
ไทย 3-3 พม่า
รอบรอง, ไทย 2-0 สิงคโปร์
รอบชิง, ไทย 2-1 มาเลเซีย

- - 1983 ณ สิงคโปร์ - -
ไทย 5-0 อินโดนีเซีย
ไทย 2-1 บรูไน
ไทย 0-1 พม่า
รอบรอง, ไทย 1-1 มาเลเซีย (p.3-0)
รอบชิง, ไทย 2-1 สิงคโปร์

- - 1985 ณ ประเทศไทย - -
ไทย 1-1 มาเลเซีย
ไทย 7-0 ฟิลิปปินส์
รอบรอง, ไทย 7-0 อินโดนีเซีย
รอบชิง, ไทย 2-0 สิงคโปร์

- - 1987 ณ อินโดนีเซีย - -
ไทย 3-1 บรูไน
ไทย 0-0 อินโดนีเซีย
รอบรอง, ไทย 0-2 มาเลเซีย
ชิงเหรียญทองแดง, ไทย 4-0 พม่า

- - 1989 ณ มาเลเซีย - -
ไทย 3-0 พม่า
ไทย 1-1 สิงคโปร์
รอบรอง, ไทย 0-1 มาเลเซีย
ชิงเหรียญทองแดง, ไทย 1-1 อินโดนีเซีย (p.8-9)

- - 1991 ณ ฟิลิปปินส์ - -
ไทย 0-0 สิงคโปร์
ไทย 4-0 พม่า
รอบรอง, ไทย 6-2 ฟิลิปปินส์
รอบชิง, ไทย 0-0 อินโดนีเซีย (p.3-4)

- - 1993 ณ สิงคโปร์ - -
ไทย 2-0 พม่า
ไทย 5-2 บรูไน
ไทย 4-1 ลาว
ไทย 2-0 มาเลเซีย
รอบรอง, ไทย 1-0 อินโดนีเซีย
รอบชิง, ไทย 4-3 พม่า

- - 1995 ณ ประเทศไทย - -
ไทย 2-1 อินโดนีเซีย
ไทย 0-0 มาเลเซีย
ไทย 3-1 เวียดนาม
ไทย 9-0 กัมพูชา
รอบรอง, ไทย 1-0 สิงคโปร์
รอบชิง, ไทย 4-0 เวียดนาม

- - 1997 ณ อินโดนีเซีย - -
ไทย 2-1 พม่า
ไทย 6-0 บรูไน
ไทย 4-0 กัมพูชา
ไทย 0-0 สิงคโปร์
รอบรอง, ไทย 2-1 เวียดนาม
รอบชิง, ไทย 1-1 อินโดนีเซีย (p.4-2)

- - 1999 ณ บรูไน - -
ไทย 9-0 ฟิลิปปินส์
ไทย 4-1 ลาว
ไทย 0-0 เวียดนาม
ไทย 7-0 พม่า
รอบรอง, ไทย 2-0 สิงคโปร์
รอบชิง, ไทย 2-0 เวียดนาม

- - 2001 ณ มาเลเซีย - -
ไทย 7-0 กัมพูชา
ไทย 1-0 สิงคโปร์
ไทย 1-0 ลาว
ไทย 3-1 พม่า
รอบรอง, ไทย 2-1 อินโดนีเซีย (a.e.t)
รอบชิง, ไทย 1-0 มาเลเซีย

- - 2003 ณ เวียดนาม - -
ไทย 1-1 เวียดนาม
ไทย 6-0 ลาว
ไทย 6-0 อินโดนีเซีย
รอบรอง, ไทย 2-0 พม่า
รอบชิง, ไทย 2-1 เวียดนาม (a.e.t)

- - 2005 ณ ฟิลิปปินส์ - -
ไทย 1-0 ฟิลิปปินส์
ไทย 2-1 มาเลเซีย
ไทย 1-0 กัมพูชา
รอบรอง, ไทย 3-1 อินโดนีเซีย
รอบชิง, ไทย 3-0 เวียดนาม

- - 2007 ณ ประเทศไทย - -
ไทย 3-2 เมียนมาร์
ไทย 8-0 กัมพูชา
ไทย 2-1 อินโดนีเซีย
รอบรอง, ไทย 3-0 สิงคโปร์
รอบชิง, ไทย 2-0 เมียนมาร์

- - 2009 ณ ประเทศลาว - -
ไทย 1-1 เวียดนาม
ไทย 4-0 กัมพูชา
ไทย 9-0 ติมอร์ เลสเต
ไทย 1-2 มาเลเซีย
(ตกรอบแรก)

- - 2011 ณ อินโดนีเซีย - -
ไทย 1-2 มาเลเซีย
ไทย 4-0 กัมพูชา
ไทย 1-3 อินโดนีเซีย
ไทย 0-2 สิงคโปร์
(ตกรอบแรก)

- - 2013 ณ เมียนมาร์ - -
ไทย 3-1 ติมอร์ เลสเต
ไทย 4-1 อินโดนีเซีย
ไทย 1-1 เมียนมาร์
ไทย 0-0 กัมพูชา
รอบรอง, ไทย 1-0 สิงคโปร์
รอบชิง, ไทย 1-0 อินโดนีเซีย

สรุปผลงานของทีมชาติไทยในซีเกมส์ 27 ครั้ง
ลงแข่ง 119 นัด
ชนะ 78
เสมอ 20
แพ้ 21
ยิงได้ 305 ประตู
เสีย 122 ประตู
ได้เหรียญทอง 14 สมัย

ทีมชาติไทยในฟุตบอลซีเกมส์


ทีมชาติไทยในฟุตบอลซีเกมส์

ฟุตบอลในกีฬาซีเกมส์นั้นถือเป็นอีกหนึ่งรายการสำคัญในภูมิภาคอาเซียน รองลงมาจากเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ เดิมทีนั้นกีฬาซีเกมส์ใช้ชื่อว่ากีฬาแหลมทอง โดยฟุตบอลในมหกรรมกีฬานี้เริ่มมีขึ้นในปี 1959 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นักเตะของทีมชาติไทยในชุดนั้น อาทิ สุชาติ มุทุกัณฑ์, วิชิต แย้มบุญเรือง, สำรวย ไชยยงค์ รวมถึงบำเพ็ญ ลัทธิมนต์ ซึ่งนักเตะที่ถูกบันทึกชื่อว่าเป็นผู้ทำประตูแรกให้กับทีมชาติไทย ในฟุตบอลซีเกมส์ก็คือ ประเทศ สูตะบุตร ทำได้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ปี 1959 ในเกมที่ทีมชาติไทยเอาชนะมาเลเซีย 3-1 แต่ในครั้งนั้นทีมช้างศึกทำได้ดีที่สุดเพียงตำแหน่งเหรียญเงิน

หลังจากนั้นทีมชาติไทยก็ได้สัมผัสเหรียญทองเป็นครั้งแรก ในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 ปี 1965 โดยในรอบชิงฯ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปีดังกล่าว ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของพลเอก ประเทียบ เทศวิศาล เสมอกับพม่า 2-2 จึงครองเหรียญทองร่วมกัน

ต่อจากนั้น ในซีเกมส์ ครั้งที่ 4 ปี 1967 ทีมชาติไทยที่มีนักเตะอย่างชัชชัย พหลแพทย์, ณรงค์ สังขสุวรรณ, ยรรยง ณ หนองคาย, นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ รวมถึงอุดมศิลป์ สอนบุตรนาค นำทีมชาติไทยเข้ารอบชิงฯ แต่ก็ต้องผิดหวัง เมื่อพ่ายแพ้ให้กับพม่า 0-3 ซึ่งทีมชาติพม่าแข็งแกร่งอย่างมากในยุคนั้น พวกเขาสามารถคว้าเหรียญทองไปครองได้ถึง 4 สมัยติดต่อกัน กระทั่ง กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8 ปี 1975 เป็นทีมชาติไทยที่ทำสำเร็จได้เหรียญทองมาครองอีกครั้งเป็นสมัยที่สอง ซึ่งอีก 2 ปีถัดจากนั้น คือในปี 1977 การแข่งขันได้เปลี่ยนชื่อจากกีฬาแหลมทองมาเป็นกีฬาซีเกมส์ โดยมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ และทีมเสือเหลืองก็ประเดิมเหรียญทองแรกในชื่อของซีเกมส์ ด้วยการชนะทีมชาติไทยในรอบชิงฯ 2-0

ทีมชาติไทยว่างเว้นจากเหรียญทองเป็นเวลา 6 ปี จนถึงซีเกมส์ครั้งที่ 11 ปี 1981 ที่ฟิลิปปินส์ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, วรวรรณ ชิตะวณิช, เฉลิมวุฒิ สง่าพล, มาดาด ทองท้วม, ชลอ หงษ์ขจร และขุนพลจากลุ่มน้ำเจ้าพระยารายอื่นๆ ช่วยกันพาทีมชาติไทยกลับมาครองแชมป์ได้อีกครั้ง และได้เหรียญทองอีกสองครั้งติดต่อกัน (1981, 1983, 1985)

แต่หลังจากนั้น ทีมชาติไทยก็ไม่สามารถคว้าเหรียญทองมาได้อีกเลยตลอดระยะเวลา 8 ปีเต็ม กระทั่งปี 1993 หรือซีเกมส์ครั้งที่ 17 ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแจ้งเกิดของกองหน้าจอมตีลังกา 'ซิโก้' เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เพราะนับจากครั้งนั้นที่ไทยได้เหรียญทองมาครอง ก็เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์การครองแชมป์ถึง 8 สมัยซ้อน (1993 ถึง 2007)

ทว่าปี 2001 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยปีนั้นเป็นครั้งแรกที่เริ่มมีการจำกัดอายุนักเตะไม่เกิน 23 ปี แข่งขันที่มาเลเซีย ทีมชาติไทยสามารถคว้าเหรียญทองมาครองเพิ่มอีกหนึ่งสมัย ซึ่งนับเป็นเหรียญทองที่ 10 พอดีของทีมชาติไทยในทัวร์นาเมนต์นี้

ครั้งถัดมา ซีเกมส์ ปี 2003 ที่เวียดนาม ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ กลายเป็นฮีโร่ เมื่อกองหลังถนัดซ้ายรายนี้ เป็นผู้ยิงประตูชัย ช่วยให้ทีมชาติไทยเอาชนะเจ้าภาพอย่างเวียดนาม ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2-1 จากนั้นในเกมรอบชิงฯ ปี 2005 ที่ฟิลิปปินส์ เป็นทางด้านธีรเทพ วิโนทัย กระหน่ำแฮตทริกพาทัพช้างศึกครองเหรียญทองได้สำเร็จ และต่อเนื่องอีกหนึ่งสมัย ในปี 2007 ที่จ.นครราชสีมา

แต่หลังจากนั้น ความยิ่งใหญ่ก็ต้องหยุดชะงักลง เมื่อซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ประเทศลาว ในปี 2009 ทีมชาติไทยก็ต้องพลาดท่าตกรอบแรกแบบไม่คาดคิด ซึ่งเป็นการตกรอบแรกครั้งแรกในรอบ 36 ปี และแฟนฟุตบอลไทยต้องผิดหวังต่อเนื่อง ในปี 2011 ที่อินโดนีเซีย ทีมชาติไทย ตกรอบแรกเป็นครั้งที่สองติดต่อกัน

ทว่าครั้งถัดมา เมื่อปี 2013 ที่เมียนมาร์ ทีมชาติไทยภายใต้การนำของเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง กลับมาทวงความยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการคว้าเหรียญทองมาให้แฟนบอลไทยได้สำเร็จ ซึ่งนับเป็นแชมป์สมัยที่ 14 ของทีมชาติไทยในรายการนี้ ทั้งนี้ 'ซิโก้' ยังนับเป็นคนที่ 3 ที่สามารถได้เหรียญทองซีเกมส์มาครอง ทั้งในฐานะนักเตะและโค้ช ต่อจาก ยรรยง ณ หนองคาย, วิทยา เลาหกุล ขณะที่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ถือกำเนิดขึ้น เมื่อไพโรจน์ พ่วงจันทร์ และ ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ กลายเป็นตระกูลพ่อลูกตระกูลแรก ที่ได้เหรียญทองฟุตบอลซีเกมส์


เรื่องราวและผลงาน ของชายที่ชื่อ 'อรรถพล ปุษปาคม'


'อรรถพล ปุษปาคม' จะไม่มีวันตายไปจากความทรงจำของวงการลูกหนังไทย



สมัยเป็นนักเตะ 'อรรถพล ปุษปาคม' ถือเป็นกองกลางฝีเท้าฉกาจ เป็นหนึ่งในตำนานของสโมสรการท่าเรือไทย ลงเล่นให้ต้นสังกัดอย่าง 'สิงห์เจ้าท่า' ไปทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 100 นัด ยิงประตูได้ในทุกปี และมีส่วนสำคัญในการพาทีมคว้าแชมป์ถ้วย ก. ในปี 1985 และ 1990 รวมถึงแชมป์ถ้วย ข. ในปี 1992

ก่อนที่จะย้ายไปค้าแข้งยังต่างแดน กับทีมปะหัง ในมาเลเซีย พาทีมคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศได้ 1 สมัย ในปี 1995 และช่วงปลายอาชีพพ่อค้าแข้ง อรรถพล ปุษปาคม กลับมาเล่นให้ตลาดหลักทรัพย์ สู้ศึกไทยลีก ก่อนที่จะแขวนสตั๊ดในปี 1998

ด้านผลงานกับทีมชาติไทย อรรถพล ปุษปาคม ลงเล่นเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้เล่นชั้นยอดหลายราย อาทิ สุรชัย จตุรภัทรพงษ์, ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล พาทีมครองเหรียญทองซีเกมส์ 1 สมัย ในปี 1993

หลังจากนั้น ก็ผันตัวเองมาทำหน้าที่ผู้ฝึกสอน คุมทีมใหญ่หลายทีมในประเทศไทย รวมถึงในสิงคโปร์ โดยความสำเร็จและเกียรติประวัติต่างๆ มีดีงนี้

พาบีอีซี เทโร ศาสน ได้ตำแหน่งรองแชมป์ใน AFC Champions League ปี 2003 รวมถึงรองแชมป์ไทยลีก ในฤดูกาล 2002-03, 2003-04

คุมทีม ธ.กรุงไทย ได้รองแชมป์ไทยลีก 2007 และกลายเป็นกุนซือคนสุดท้ายของทีม 'วายุภักษ์'

จากนั้นในปี 2009 พาทีมน้องใหม่ที่พึ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอย่างเมืองทอง ยูไนเต็ด คว้าแชมป์ไทยลีกได้อย่างยิ่งใหญ่

ปี 2010 ถึง ปี 2013 เข้าคุมทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด นำทีมปราสาทสายฟ้าประสบความสำเร็จแบบสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นแชมป์ไทยลีก 1 สมัย, ถ้วย ก. 1 สมัย, แชมป์เอฟเอคัพ 2 สมัย, แชมป์ลีกคัพ 2 สมัย, แชมป์พรีเมียร์คัพ 1 สมัย รวมถึงพาทีมเข้ารอบน็อคเอาท์ AFC Champions League ได้อีกด้วย ซึ่งนับเป็นโค้ชชาวไทยคนแรกที่สามารถคุมทีมเข้ารอบน็อคเอาท์ในรายการนี้ ได้ถึง 2 ทีม

จากผลงานอันเป็นที่ประจัก การทำงานที่ละเอียด และความคิดอันชาญฉลาด ส่งผลให้ 'โค้ชแต๊ก' อรรถพล ปุษปาคม กลายเป็นที่ยอมรับจากทั้งแฟนบอลและบุคคลในวงการฟุตบอล จนอาจเรียกได้ว่านี่คือโค้ชที่ดีที่สุดในลีกของประเทศไทย การันตีด้วยการคว้ารางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม ไทยพรีเมียร์ลีก ได้ถึง 3 สมัย ในฤดูกาล 2001-02, 2009 และ 2013 ซึ่งนับเป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้มากที่สุดอีกด้วย

โดยข้อมูลต่อไปนี้ คือสถิติการคุมทีมของ 'โค้ชแต๊ก' ในไทยพรีเมียร์ลีก สองฤดูกาลหลังสุด

-- ฤดูกาล 2013 --
คุมทีมบุรีรัมย์ + บางกอกกล๊าส
คุมทีม 31 นัด
ชนะ 17 นัด
เสมอ 8 นัด
แพ้ 6 นัด
ยิง 50 ประตู
เสีย 29 ประตู
ได้ 59 คะแนน

-- ฤดูกาล 2014 --

22 กุมภาพันธ์ - 15 มิถุนายน (บางกอกกล๊าส)
คุมทีม 18 เกม
ชนะ 7 เสมอ 3 แพ้ 8
ยิง 31 เสีย 28
ได้ 24 คะแนน

10 สิงหาคม - 2 พฤศจิกายน (เพื่อนตำรวจ)
คุมทีม 11 เกม
ชนะ 4 เสมอ 3 แพ้ 4
ยิง 24 เสีย 22
ได้ 15 คะแนน

ล่าสุด ก่อนที่ยอดกุนซือท่านนี้จะจากไป เขากำลังคุมทีม 'สุภาพบุรุษโล่เงิน' สู้ศึกลีกวัน ซึ่งถึงแม้ว่าภารกิจในการพาทีมเลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุด อาจยังไม่แล้วเสร็จ และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เชื่อได้เลยว่าอดีตนักเตะทีมชาติไทย, ตำนานของสิงห์เจ้าท่า และยอดกุนซือสมองเพชรคนนี้ จะอยู่ในความทรงจำของทุกคนในวงการฟุตบอลไทย และเรื่องราวของเขาจะยังคงถูกพูดถึง ถูกเล่าขานต่อไปให้คนรุ่นหลัง ได้รู้จัก และได้เรียนรู้ ว่าถ้าท่านทำเพื่อสิ่งที่รัก ทำเพื่อวงการฟุตบอลไทยอย่างถูกต้อง และภาคภูมิแล้ว พวกท่านจะไม่มีวันตายไปจากความทรงจำของคนฟุตบอล เช่นเดียวกับเขา 'อรรถพล ปุษปาคม'

เครดิต : http://www.supersubthailand.com/article/110-1/index.html

ทีมชาติไทย U23 (2015-16)














ขอบคุณภาพจาก บริษัท สปอร์ต ฮีโร่ และจากแหล่งอื่นๆครับ